วันอังคารที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ผ้าไหมไทยหัตกรรมพื้นบ้านของชาวไทย

ผ้าในงานหัตถกรรมพื้นบ้านโดยทั่วไปมีอยู่สองลักษณะคือ ผ้าพื้นและผ้าลาย ผ้าพื้นได้แก่ ผ้าที่ทอเป็นสีพื้นธรรมดาไม่มีลวดลาย ใช้สีตามความนิยม ในสมัยโบราณสีที่นิยมทอกันคือ สีน้ำเงิน สีกรมท่าและสีเทา ส่วนผ้าลายนั้นเป็นผ้าที่มีการประดิษฐ์ลวดลายหรือดอกดวงเพิ่มขึ้นเพื่อความงดงาม มีชื่อเรียกเฉพาะตามวิธี เช่น ถ้าใช้ทอ (เป็นลายหรือดอก) ก็เรียกว่าผ้ายก ถ้าทอด้วยเส้นด้ายคนละสีกับสีพื้น เป็นลายขวาง และตาหมากรุกเรียกว่า ลายตาโถง ถ้าใช้เขียน หรือพิมพ์จากแท่งแม่พิมพ์โดยใช้มือกด ก็เรียกว่า ผ้าพิมพ์ หรือผ้าลายอย่าง ซึ่งเป็นผ้าพิมพ์ลาย ที่คนไทยเขียนลวดลายเป็นตัวอย่างส่งไปพิมพ์ที่ต่างประเทศ เช่น อินเดีย
          ผ้าเขียนลายส่วนมากเขียนลายทอง แต่เดิมชาวบ้านรู้จักทอแต่ผ้าพื้น (คือผ้าทอพื้นเรียบไม่ยกดอกและมีลวดลาย) ส่วนผ้าลาย (หรือผ้ายก) นั้น เพิ่งมารู้จักทำขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น หรือสมัยอยุธยาตอนปลาย สันนิษฐานว่าได้แบบอย่างการทอมาจากแขกเมืองไทรบุรีซึ่ง ถูกเจ้า-เมืองนครกวาดต้อนมา เมื่อครั้งที่เมืองไทรบุรีคิด ขบถประมาณ พ.ศ. 2354 อย่างไรก็ตาม ผ้าทั้งสองประเภทนี้ใช้วิธีการทอด้วยกันทั้งสิ้นวัสดุที นิยมนำมาใช้ทอคือ ฝ้าย ไหมและขนสัตว์ (แต่ส่วนมากจะใช้ฝ้ายและไหม) ชาวบ้านจะปลูกฝ้ายเป็นพืชไร่และเลี้ยงไหมกัน ฤดูที่ปลูกฝ้ายกันคือ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม จนถึงเดือนพฤศจิกายน ซึ่งกินเวลาถึง 6 เดือน ต้นฝ้ายจึงจะแก่ เมื่อ เก็บฝ้ายมาแล้วจึงนำมาปั่นและกรอให้เป็นเส้น ม้วนเป็นหลอด เพื่อที่จะนำไปเข้าหูกสำหรับ ทอต่อไป ชาวบ้านรู้จักทอผ้าขึ้นใช้เอง หรือสำหรับแลกเปลี่ยนกับเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็นจะต้องใช้ภายในครอบครัว การทอนี้มีมาแต่โบราณกาลแล้ว ไม่มีใครทราบว่ามีมาแต่เมื่อไร และได้แบบอย่างมาจากใคร ถ้าจะพิจารณาดูตาม หลักฐานทางประวัติศาสตร์แล้ว ในสมัยศรีวิชัย(ราวพุทธศตวรรษที่ 13) ชาวบ้านคงรู้จักการทอผ้าแล้วเพราะว่าในสมัยนั้นเป็นสมัย ที่ได้มีการติดต่อการค้าและรับเอาศิลปะและวัฒนธรรมมาจากชนชาติที่เจริญกว่า เช่น จีน อินเดีย อาหรับ และเปอร์เซีย ชนต่างชาติดังกล่าวคงได้มาถ่ายทอดไป