วันอาทิตย์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2554

ไปดูงาน ที่ จ.สุรินทร์

การไปดูงาน ณ จังหวัดสุรินทร์

วันแรกของการเดินทาง ออกเดินทางจากมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม ตั้งแต่ 06.00 น. ไปถึงที่ดูงานที่แรกก้อน่าจะประมาณ สัก บ่ายโมงตรงได้ เป็นการนั่งรถที่เหนื่อยและง่วงนอนมากๆเลยครับ พอไปถึงสถานที่ดูงานที่แรก ภาพบรรยากาศ 2ข้างทางค่อนข้างจะแห้งแล้งเอาการเลยทีเดียว


พอมาถึง ได้ฟังวิธีการทำเกษตรแบบทฤษฎีใหม่ มีการเลี้ยงหมูหลุมและทำปุ๋ยชีวภาพใช้กันเอง ได้ฟังวิธีการเลี้ยงหมูหลุมและการทำนาข้าวอินทรีย์จาก คุณกัญญา อ่อนสี และคุณ วรพล 






เช้าวันที่ 2 ของการออกไปดูงาน


วันนี้ พวกเราจะต้องออกเดินทางไปดูงานยังบ้านของพ่อคำเดื่อง ภาษี ท่านได้ให้เกียรติ มาเป็นวิทยากรให้ความรู้ กับพวกเรา และยังได้พาพวกเราเดินชมแปลงเกษตรของท่านอีกด้วย


   หลังจากออกเดินทางออกจากบ้านพ่อคำเดื่อง พวกเราได้ไปยังหมู่บ้านที่มีการทอผ้าไหมอีกด้วย





วันที่ 3 ของการไปดูงาน

ช่วงเช้าได้ไปดูการขายของทางการเกษตร ที่ตลาดเขียว



หลังจากนั้น ได้เดินทางไป ดูงาน ที่บ้านของ พ่อสุวรรณ กันภัย ท่านยึดมั่นในการใช้ชีวิต ตามหลักเศษฐกิจพอเพียง อยู่แบบพอเพียง เป็นที่น่าเคารพนับถือเป็นอย่างมาก


 พอออกจากบ้านของพ่อ สุวรรณ พวกเราได้เดินทางไปยังหมู่บ้านช้าง นี่สิถึงจามถึงยังถิ่น สุรินทร์ของแท้ ได้มาชมการแสดงต่างๆ ของช้าง ช้างที่นี่น่ารักมาก ความสามารถก็มากเช่นกัน
















วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2554

งานสัมนาเรื่องผู้สูงอายุ


งานสัมมนาเกี่ยวกับผู้สูงอายุ



การขอสวัสดิการที่รัฐบาล
จัดให้ผู้สูงอายุควรมีเอกสาร
ในการรับเงินสวัสดิการ 500 บาท
นั้นมีเอกสารดังนี้                                 
1. สำเนาบัตรประชาชน
2. สำเนาสมุดบัญชีธนาคาร
3. สำเนาทะเบียนบ้าน
ในประเทศไทยเรา ถือว่า
มีผู้สูงอายุ ถึง 11 เปอเซ็นต์
ซึ่งเป็นอัตตราของผู้สูงอายุที่ค่อนข้างสูง
โดยปกติแล้ว มีข้อกำหนด อยู่ที่ 10 เปอเซ็นต์
ถ้ามากกว่านี้ ถือว่าสังคมนั้น

                   *เข้าสู่สังคมสูงอายุแล้ว*


วันพุธที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2554

ประกาศรับสมัครงาน

**ด่วน !!! รับสมัครพนักงาน ในตำแหน่ง ต่อไปนี้**

ตำแหน่ง :

1.ช่างทอผ้าไหม        2  อัตตรา
2.พนักงานฝ่ายขาย    2  อัตตรา


คุณสมบัติ :

มีความรู้ และ ประสบการณ์ในการทอผ้าไหม สามารถทำงานล่วงเวลาได้


เพศ :

ชาย/หญิง


ระดับการศึกษา :

ไม่จำกัด วุฒิการศึกษา


รายได้ :

9000 - 12000 บาท ต่อเดือน


สนใจติดต่อได้ที่ :

คุณชาติชาย  : โทร 02-7479331 // 081-2345678  ตั้งแต่เวลา 08:00 น.-22:00 น.

วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

ผ้าไหมของภาคอีสาน

             การทอผ้าไหมนั้นในยุคอดีต คนไทยทอขึ้นเพื่อนำมาใช้เองเป็นเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่มต่างๆโดยนิยมนำมาทอ เป็นผ้าถุง เสื้อ และผ้าสไบ เพราะผ้าไหมมีความสวยงามของเนื้อผ้าเป็นงานหัตถกรรม อันดับต้นๆ ของการทอผ้า


        ผ้าไหมของทางภาคอีสาน มีหลายชนิด เช่น ผ้าไหมแพรวา ผ้าไหมมัดหมี่ ฯลฯ การทอผ้าไหมใช้เวลาในการทอค่อนข้างนาน เนื่องจากเป็นงานที่มีความละเอียดอ่อน ค่อนข้างสูง เป็นงานที่ประณีตมาก ในปัจจุบัน การทอผ้าไหมนั้น เป็นอีกอาชีพหนึ่งที่สามารถนำรายได้ มาเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้ เนื่องจากผ้าไหม มีราคาที่ค่อนข้างสูง และเป็นที่นิยม กันอย่างแพร่หลาย เพราะมี ลวดลายที่สวยงาม เนื่อผ้าที่สวย ทำให้ผู้คนหันมาให้ความสนใจกับผ้าไหมมากขึ้น


         ดังนั้นการทอผ้าไหม จึงเป็นอีกอาชีพหนึ่ง ที่คนในชุมชน ควรหันมาให้ความสนใจ เพื่อนำไปเป็นอาชีพ หารายได้อีก ทางหนึ่ง อีกทั้งการทอผ้าไหมยังสามารถถ่ายทอดให้แก่ผู้ที่ให้ความสนใจและต้องการอนุรักษ์ผ้าไหม  และยังเป็นการช่วยกันอนุรักษ์ผ้าไหมให้อยู่คู่ กับคนไทยไปตลอด เป็นการสืบสานภูมิปัญญาในการทอผ้าไหมท้องถิ่นของชุมชนอีกด้วย


ผ้าไหมแพรวา

ผ้าไหมมัดหมี่

ขอขอบคุณที่มาของรูปภาพจาก เว็ปไซด์ : http://www.tv5.co.th/

วิวัฒนาการของผ้าไหมไทย

แม้ว่าเราจะไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดมาใชอธิบายเรื่องจุดกำเนิดของการทอผ้าในประเทไทยก็ตาม แต่ก็อาจจะกล่าวได้ว่า การทอผ้าเป็นงานศิลปหัตถกรรมที่เก่าแก่ที่สุดอย่างหนึ่งที่มนุษย์ในสมัยโบราณที่อาศัยอยู่ในดินแดนนี้รู้จัก ทำขึ้นตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์
          ภาพเขียนสีบนผนังถ้ำเช่นที่ เขาปลาร้า จังหวัดอุทัยธานี อายุประมาณ 2,500 ปีมาแล้ว มีรูปมนุษย์โบราณกับสัตว์เลี้ยง เช่น ควาย และสุนัข แสดงว่ามนุษย์ยุคนั้นรู้จักเลี้ยงสัตว์แล้ว ลักษณะการแต่งกายของมนุษย์ยุคนั้นดูคล้ายกับจะเปลือยท่อนบน ส่วนท่อนล่างสันนิษฐานว่าจะ ใช้หนังสัตว์ หรือผ้าหยาบๆ ร้อยเชือกผูกไว้รอบๆ สะโพก บนศีรษะประดับด้วยขนนก
          จากภาชนะเครื่องปั้นดินเผาโบราณที่พบ บริเวณถ้ำผี จังหวัดแม่ฮ่องสอน อายุประมาณ 7,000 - 8,000 ปีมาแล้ว พบว่ามีการตกแต่งด้วยรอยเชือก และรอยตาข่ายทาบ ทำให้เราสันนิษฐาว่า มนุษย์น่าจะรู้จักทำเชือกและตาข่ายก่อน โดยนำพืชที่มีใยมาฟั่นให้เป็นเชือก แล้วนำเชือกมาผูก หรือถักเป็นตาข่าย จากการถักก็พัฒนาขึ้นมาเป็นการทอด้วยเทคนิคง่ายๆ แบบการจักสานคือนำเชือกมาผูกกับไม้หรือยึดไว้ให้ด้ายเส้นยืนแล้วนำเลือกอีกเส้นหนึ่งมาพุ่งขัดกับด้ายเส้นยืน เกิดเป็นผืนผ้าหยาบๆ ขึ้น เหมือนการขัดกระดาษหรือการจักสาน เกิดเป็นผ้ากระสอบแบบหยาบๆ
          เราพบหลักฐานที่สำคัญทางโบราณคดีที่บริเวณบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี เช่น พบกำไล สำริด ซึ่งมีสนิม และมีเศษผ้าติดอยู่กับคราบสนิมนั้น นักวิทยาศาสตร์อธิบายว่า สนิมเป็นตัวกัด
          กร่อนโลหะซึ่งเป็นอนินทรียวัตถุ แต่กลับเป็นตัวอนุรักษ์ผ้าซึ่งเป็นอินทรียวัตถุไว้ไม่ให้เสื่อมสลายไปตามกาลเวลา ที่แหล่งบ้านเชียงนี้ เรายังพบ แวดินเผาซึ่งเป็นอุปกรณ์การปั่นด้ายแบบง่าย ๆ และพบลูกกลิ้งแกะลายสำหรับใช้ทำลวดลายบน ผ้าเป็นจำนวนมาก จึงทำให้พอจะสันนิษฐานได้ว่า มนุษย์อาศัยอยู่ในบริเวณบ้านเชียงเมื่อ 2,000-4,000 ปีมาแล้ว รู้จักการปั่นด้าย ทอผ้า ย้อมสี และพิมพ์ลวดลายลงบนผ้าอีกด้วย

ภาพ:Mai 3.jpg

วันพุธที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2554

ประวัติส่วนตัว ชื่อ-นามสกุล นายศุภวุฒิ สิงห์นุกูล

อายุ 22 ปี เกิดวัน อังคาร ที่ 25 ตุลาคม 2531 เลือดกรุ๊ป B

สถานที่เกิด โรงบาลชุมพรเขตอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพร

อยู่บ้านเลขที่ 333/12 ม.5 ต.นาทุ่ง อ.เมือง จ.ชุมพร 86000

ประวัติการศึกษา
-ระดับชั้นประถมศึกษา

จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จาก โรงเรียนอนุบาลชุมพร

-ระดับมัธยมศึกษา

จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จาก โรงเรียนศรียาภัย



กำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม เอก การพัฒนาชุมชน


 
งานอดิเรก

-เล่นเกมส์คอมพิวเตอร์

-เล่นกีร์ต้า

ความสามารถพิเศษ

-เล่นกีต้าร์

ความคาดหวังและเป้าหมายในอนาคต
-เรียนจบระดับปริญญาตรี

-เปิดร้าน Internet Cafe`

-มีครอบครัวที่มั่นคง

-สามารถเลี้ยงพ่อแม่ และครอบครัวได้




-ระดับปริญญาตรี

ผ้าไหมไทยกับการเข้าสู่ผลิตภัณท์ระดับนานาชาติ

ในอดีตไหมไทยไม่ที่รู้จักแพร่หลายในตลาดโลกมากนัก แม้กระทั่งคนไทยยังไม่นิยมนำผ้าไหมมาตัด เย็บเสื้อผ้า เพราะผ้าไหมถูกตีกรอบให้เหมาะสมกับกลุ่มผู้ใหญ่เท่านั้น จนหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อจิม ทอมสัน ชาวอเมริกันฟื้นฟูอุตสาหกรรมไหมไทย ขึ้นมาใหม่ทำให้ผ้าไหมขึ้นมาใหม่ทำให้ผ้าไหมไทยเป็น ที่รู้จักของโลกภายนอกมากยิ่งขึ้น
         ประกอบกับที่สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถทรงมีพระราชดำริ ในการก่อตั้งศูนย์ศิลปาชีพ เพื่อส่งเสริมงานฝีมือภูมิปัญญาไทย ผ้าไหม "มัดหมี่" จึงเป็นศิลปะอีกแขนง หนึ่งที่ทรงให้ความสำคัญ และได้รับส่งเสริมพัฒนาในทุกขั้นตอนการผลิต ทรงส่งเสริมให้มีผลิตออก มาหลายๆ รูปแบบทั้งแบบผืนยาวเรียบลายแถบ ยกดอก ภาพพิมพ์สมเด็จฯท่านทรงเป็นแบบอย่างในการ เผยแพร่ชื่อเสียงของผ้าไหมไทยโดยการที่ทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมไทย ไม่ว่าจะอยู่ในประเทศหรือ เสด็จต่างประเทศก็ตาม
         ผ้าไหมมัดหมี่นอกจากจะมีลวดลายที่สวยงาม แล้วยังมีความทนทานสามารถสวมใส่ได้หลายปี หาก รู้จักวิธีการรักษาที่ถูกต้อง ปัจจุบันดีไซเนอร์ชั้นนำทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศนิยมนำผ้าไหมทั้งผ้าพื้น และผ้ามัดหมี่ไปตัดเย็บ จัดแสดงแฟชั่นโชว์คอลเลคชั่นผ้าไหมให้เห็นกันอยู่บ่อยๆ ซึ่งผ้าไหม 2 เส้น นิยมตัดชุดสำหรับสุภาพสตรีส่วนของผ้าไหม 4 เส้น นำมาตัดเป็นเสื้อพระราชทาน สำหรับสุภาพบุรุษหรือตัด ชุดสูทเป็นการออกแบบผสมผสานความงามของผ้าไหมไทยกับการตัดเย็บอย่างประณีตในรูปแบบสากล เพื่อช่วยเสริมให้บุคลิกของผู้สวมใส่ดูสวยงามไม่ล้าสมัย เหมาะสมกับคนทุกวัยและทุกโอกาส จากการเริ่ม ต้นแค่ภูมิปัญญาของชาวชนบทในภาคอีสานของไทย เดี๋ยวนี้ผ้าไหมไทยกลายเป็นสินค้าสำคัญของประเทศ และเป็นที่ต้องการของตลาดโลกไปแล้ว...